|
|
 |
การประกอบตู้ใบนี้มีความซับซ้อนมาก
เพราะตัวตู้จะต้องถูกนำไปยึดติดกับตัวหม้อแปลง |
ซึ่งตำแหน่งของรูเจาะของหน้าแปลนจะคลาดเคลื่อนไม่ได้
ด้านหลังตู้จะมีโครงเหล็กที่หนา |
ต้องไปยึดกับตัวหม้อแปลง
ที่ด้านซ้ายและขวา
ต้องไปประกอบเข้ากับ
cable duct ของระบบ |
แรงสูง
24 kv.
และอีกด้านจะเป็น
Low Voltage |
|
|
|
|
|
 |
การเชื่อมเหล็กที่มีความหนา
เข้ากับเหล็กแผ่นบางที่มีพื้นที่กว้างต้องระมัดระวังเรื่องการดึงตัวของ |
เนื้อเหล็ก
ถ้าเหล็กยับหรือโป่ง
จะทำให้ตำแหน่งของการประกอบคลาดเคลื่อน
ถ้านึกไม่ออกลองคิดถึง |
ตอนที่เราเรียนชั้นประถม
เวลาระบายสีน้ำ
ระบายไป
ระบายมา
กระดาษก็จะโป่ง
และเป็นคลื่น
เพราะเมื่อ |
กระดาษถูกน้ำจะขยายตัวออก
พอแห้ง
ก็ไม่กลับเข้าสู่สภาพเดิม |
|
เหล็กก็เหมือนกัน
เมื่อเราเชื่อม
เหล็กบางส่วนละลายและขยายตัว
เมื่อรอยเชื่อมเย็นลง
เหล็กก็หดตัวกลับ |
แต่ก็ไม่กลับเข้าสภาพเดิม100%
ช่างเทคนิคที่มีความชำนาญ
จะต้องตรึงด้วยเหล็กดาม(welding
truss bar) และ |
จะต้องกระจายแนวเชื่อม
กระจายความร้อน
ให้เป็นบริเวณกว้าง
เพื่อลดอาการยับ
หรือโป่งของแผ่นเหล็ก |
ช่างที่ประกอบต้องเป็นมือเฉพาะกิจ
และมีประสพการณ์พอสมควร
ที่สำคัญที่สุด
ต้องมีวินัยในเรื่องที่ต้อง |
ทำงานไปตาม
ขั้นตอนที่ระบุไว้ใน
work instruction |
|
|
|
|
|
 |
การเชื่อมประกอบงานในบางครั้งก็อาจจะมีความคลาดเคลื่อน
ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง |
เป็นระยะ
งานเฉพาะพิเศษแบบนี้
ใช้เวลานานมากในการประกอบแต่ละส่วน
เทคนิคงานเชื่อม |
การลดอุณหภูมิรอยเชื่อมต้องถูกงัดเอาออกมาใช้อย่างมาก |
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
กราวด์สตัด
เป็นสแตนเลสสตีล |
Stainless
steel stud screw for
grounding port. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตัวตู้จะพับขึ้นรูปจากเหล็กที่มีความหนามากพอสมควร
และจะมีรางขนาดใหญ่ |
เชื่อมคาดติดที่ด้านหลังสำหรับนำไปยึดเข้ากับหม้อแปลงขนาดใหญ่พอนำไป |
ยึดเข้ากับหม้อแปลงแล้ว
ตัว remote box
จะดูเล็กนิดเดียวหม้อแปลงแต่ละชุด |
มีขนาดใหญ่มาก
ที่ด้านซ้ายและขวาจะมีช่องสำหรับเชื่อมต่อกับ
cable duct |
นัต
สกรูทั้งหมด
เป็นสเตนเลสสตีล |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
ภายในตู้จะเป็นสีขาว
และมีช่องเจาะสำหรับยึดอุปกรณ์
Metering Control ต่างๆ |
มีช่องระบายความร้อน
มีตระแกรงป้องกันแมลง
และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ
ไม่ให้เข้า |
ไปในตู้ได้ |
|
|
|
|
|
|
|
 |
การระบายความร้อนอาศัยการลอยตัวสูงขึ้นของอากาศร้อน
และการไหลเข้ามาแทนที่ |
ของอากาศที่เย็นกว่า
แบบเดียวกับการเกิดกระแสลมตามธรรมชาติ
สังเกตุช่องสำหรับ |
รับกระแสลมเข้าทางด้านล่าง
(Fresh air inlet )
และช่องระบายความร้อนทางด้านบน |
ทั้งสองข้าง
( Side air vent port )
การออกแบบจะต้องมีความเหมาะสม
และเพียงพอสำหรับ |
ขนาดของช่องทางเข้า
และระบายออกต่างๆต้องมีความสัมพันธ์กันจึงจะสามารถทำงานได้ |
อย่างมีประสิทธิภาพ
และเมื่อเวลาเกิดฝนหรือพายุ
ช่องรับกระแสลมเหล่านี้จะต้องสามารถ |
ป้องกันไม่ให้น้ำถูกลมพัดเข้ามาด้วย
ใต้ฝาครอบที่เห็นจะต้องมี
mist eleminator set
ติดตั้งอยู่ |
ด้วย
จึงจะสมบูรณ์ |
Q
= V x A |
|
Q
= Air volume (cfm.) |
V
= Air velocity (fpm.) |
A
= Section area (sq.ft) |
|
หรือปรึกษาขอคำแนะนำได้ที่
prapon@denco.co.th
|
|
|
|
 |
การตรวจสอบขั้นตอนสุดท้ายนอกจากเรื่องของความหนาของฟิล์มสีแล้ว |
ความแน่นสนิทของประตูและซีลยาง
ต้องมีการตรวจสอบด้วยวิธีการพิเศษ |
เพื่อความมั่นใจว่า
ความสามารถในการป้องกัน
หรือดัชนีการป้องกัน
IP. xx |
(Index
of protection)
ถูกต้องตามความเหมาะสมในการใช้งาน |
|
|
|
|
|
|
 |
ตู้แบบพิเศษนี้ผลิตเพื่อลูกค้าเฉพาะรายนำภาพมาให้ชมเป็นบางส่วน |
เท่านั้น
แบบและรายละเอียดต่างๆเป็นข้อมูลที่ต้องเก็บเอาไว้อย่างรัดกุม |
บางลอต
ก็มีความพิเศษที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อยในเรื่องของ |
อุปกรณ์ประกอบ
และสี
ที่เข้ากับงานแต่ละชุด |
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
 |
|
May16,2011 |
|